สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม


7 ธ.ค. 2559

แม่ทัพภาคที่ 4 ภาคที่ 4 ลงพื้นที่ตามสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนครศรีธรรมราช เผยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบภัยน้ำท่วมโดยได้พระราชทานถุงพระราชทานเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 3,000 ถุง

( 6 ธค. 59) ที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ. นครศรีธรรมราช. พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช. แม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ลงพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมทั้งได้นำเครื่องอุปโภค บริโภค ไปแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชน ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งได้อพยพมาอาศัย ที่ศูนย์ดังกล่าว จำนวน 195 ครอบครัว ให้การต้อนรับ

41.jpg

โอกาสนี้ พลโทปิยวัฒน์  นาควานิช ได้พบปะให้กำลังแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ พร้อมทั้ง กล่าวว่า. ตนเองขอเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมทุกคน ซึ่งขณะนี้ ตนเองได้สั่งการให้ ศูนย์บรรเทาบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพภาคที่ 4  ทั้ง 22 ศูนย์ ได้ออกช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม เป็นต้นมา  แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

หลังเกิดเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูล ทรงหาวงใยราษฎรในพื้นที่ภาคใต้ โดยทรงติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้พระราชทานความช่วยเหลือโดยการมอบถุงพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมชาช และ จังหวัดพัทลุง จำนวน 3,000 ถุง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ราษฎร ซึ่งถุงพระราชทานดังกล่าวขณะนี้ได้ลำเลียงมายังพระตำหนักทักษินราชนิเวศเรียบร้อยแล้ว และ จะนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่อไป                                

ด้านการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากปัญหาสถานการณ์อุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นภาคใต้ นั่น แม่ทัพภาคที่ 4. กล่าวว่า กองทัพภาคที่ 4 ได้ส่งเจ้าหย้าที่ ออกช่วยเหลือประชาชนที่แระสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ จังหวัดชุมพร, สุราษฎร์ธานี ,นครศรีธรรมราช,พัทลุง,สงขลา,ปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,ภูเก็ต,กระบี่,ตรัง,สตูล

โดยได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 และหน่วยขึ้นตรงศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 เร่งให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบอุทกภัย และพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยในห้วงที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ถึงวันที่ 5. ธันวาคม ได้มีหน่วยที่ออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้ว จำนวน 15 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและกรมทหารพราน ได้แก่

1.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4

2.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 41

3.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 4

4.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 43

5.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 45, ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพลทหารราบที่ 5

6.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 15

7.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพลพัฒนาที่ 4

8.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการช่วยรบที่ 4

9.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกรมทหารปืนใหญ่ที่ 5

10.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 5

11.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 15

12.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15

13.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพันทหารช่างที่ 40

14.ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยร้อยฝึกรบพิเศษที่ 4

15.กรมทหารพรานที่ 44

จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ถุงยังชีพ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ 12 จังหวัด 63 อำเภอ 368 ตำบล  1,071 หมู่บ้าน ผู้ประสบภัย 90,440 คน 20,962  ครัวเรือน และจากการลงพื้นที่ พบว่าพี่น้องประชาชนกำลังลำบากบางพื้นที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกรถไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ขณะนี้ตนเองไ้ด้มีการประสานกับอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งให้ความข่วยเหลือประชาชน โดยทางกองทัพภาคที่ 4 ได้กำลังกำลังพล พร้อมยุทธโทปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว เพื่อจะบูรณาการความข่วยเหลือ

นอกจากนี้ได้มีการเตรียมเครื่องมือพิเศษ ไว้เข้าแก้ไขปัญหา ซึ่งหากประชาชนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนขอให้บอก ทางกองทัพภาคที่ 4 พร้อมทุกอย่างทุกหน่วยทหาร ไม่ได้พร้อมอย่างเดียวนะครับซึ่งตอนนี้ได้ลงพื้นที่ไปช่วยเหลือชาวบ้านตั้งแต่เริ่มเกืดปัญหาน้ำท่วมในทุกพื้นที่และก็จะช่วยต่อไปจนกว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่หลังจากสภาวะปกติแล้วเราก็จะดูแลต่อ พอน้ำลด เราก็จะดูแลบ้านช่องของพี่น้องทุกคนในขีดความสามารถ ในความสามารถของทหารว่าจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง โดยทหารจะดูแลจนกว่าชาวบ้านจะอยู่แบบปกติ

แม่ทัพภาคที่ 4 ยังได้ห่วงใยปัญหาสุขภาพของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้สั่งการให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยแพทย์ของกองทัพบกในพื้นที่ และกระทรวงสาธารณะสุข ส่งทีมแพทย์ พยาบาล ไปดูแลสุขภาพของประชาชน พร้อมทั้งให้เตรียมยาเพื่อการรักษาพยายาล และ เซรุ่ม ซึ่งหากมีสัตว์ที่มีพิษกัดชาวบ้านก็สามารถทำการรักษาพยาบาลได้ทันที

40.jpg42.jpg