ปิดโรงเรียนขนาดเล็ก...พูดไม่ออกกับความล้มเหลวของการศึกษาไทย (บทความ)
หนึ่งสิ่งที่ผมคาดหวังการปฏวิติของรัฐบาลทหารนั่นคือการปฏิรูปการศึกษา โลกไปข้างหน้าแต่การศึกษาไทยถอยหลังในวันที่ลงพื้นที่ไปดูความคืบหน้าตลาดน้ำบางกล่ำ ที่ท่าน้ำวัดบางหยี สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมหยุดนิ่งกับสภาพที่รกร้างของโรงเรียนวัดบางหยี โรงเรียนประจำหมู่บ้านที่ผมยังจำได้ว่าเห็นเด็กจำนวนไม่น้อยที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นประจำเมื่อผ่านมาทางนี้
แต่ปีการศึกษานี้ มีแต่ป้าย มีแต่อาคาร มีแต่เสาธง แต่ไม่มีนักเรียน ไม่มีครู ประตูโรงเรียนไม่ได้เปิดแล้ว ผมมีโอกาสพูดคุยไม่กี่คำกับชาวบ้านตรงนี้ เขาบอกว่าเด็กไม่ถึงเกณฑ์เขาเลยปิดย้ายเด็กไปเรียนโรงเรียนใกล้ๆ หมดแล้ว บ้านบางหยีเท่าที่ผมสัมผัสที่นี่ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ
อาจเพราะคมนาคมสะดวก ชุมชนแห่งนี้อยู่ไม่ไกลเมืองใหญ่มาก หรือด้วยเหตุผลอันใดก็แล้วแต่สำหรับผมนี่คือึวามล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของระบบการศึกษาไทย ที่นี่ไม่ใช่ที่แรกและที่สุดท้ายที่โรงเรียนในสังกัดสพฐ.ต้องปิดตัวลงแน่นอน โรงเรียนรัฐเด็กน้อย เด็กหายแต่เอกชนผุดราวดอกเห็ด อำเภอรัตภูมิควนเนียงในสมัยก่อนมีแค่ 1-2 โรงเรียนบัดนี้จะเป็น 10แล้ว
ขณะที่ในเมืองหาดใหญ่ไม่ต้องพูดถึง เปิดใหม่ ขยายห้องกันเป็นว่าเล่น บางโรงเรียนดินสักก้อนก็ไม่มีให้เด็กเหยียบเพราะสร้างเป็นอาคารหมดแล้ว แถมรัฐก็มีการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนด้วยงบมหาศาลในแต่ละปีแต่โรงเรียนเหล่านี้ก็ยังมาขูดรีดจากนักเรียนอีกเทอมละหลายเป็นหมื่น เขาเป็นธุรกิจ เป็นบริษัท ย่อมทำเพื่อผลกำไรเป็นธรรมดา
ไม่มีใครอยากขับรถไปส่งลูกที่โรงเรียนไกลๆ และถ้าเลือกได้ทุกคนก็ไม่อยากจ่ายเงินมหาศาลเพื่อแลกกับการศึกษาของลูกหรอก คนที่ให้ลูกเรียนไกลบ้าน เรียนเอกชนเพราะมีจำนวนไม่น้อยที่เขาบอกว่า "โรงเรียนข้างบ้านหรับไหรไม่ได้" นั่นคือโรงเรียนใกล้บ้านพึ่งพาไม่ได้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ มารยาทไม่มี หลายปัจจัยที่ทำให้เขายอมแบกภาระส่งลูกเรียนไกลๆ
หลายคนที่เป็นครูผมจะเห็นเฟสเขาบ่อยมากนั่นคือกาารไปอบรม ดูงาน ส่งงาน มากกว่าการสอนหนังสือเสียอีก และที่สำคัญบุคลากรในกัดสพฐ.กรทรวงศึกษาฯ เกือบ100% ส่งลูกเรียนเอกชนหรือไม่ก็โรงเรียนรัฐดังๆ ไม่ใช่เรียนที่ตัวเองสอนหรือโรงเรียนสพฐ.ใกล้บ้าน
อีกอย่างหนึ่งโรงเรียนรัฐสังกัดสพฐ.กลับโดนคู่แข่งอย่างโรงเรียนท้องถิ่น เทศบาล อบต. ทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนท้องถิ่น ที่คุณภาพดีกว่าโรงเรียนสพฐ.แต่หน่วยงานเหล่านี้กลับต้องใช้งบมหาศาลในการสร้างตึก สร้างอาคารเรียนใหม่ๆ แทนที่จะใช้ร่วมกันเพียงเพราะอยู่คนละสังกัด โรงเรียนเทศบาลหลายแห่งรั้วติดกัน ตรงข้ามกัน ห่างไม่กี่เมตรกับโรงเรียนสพฐ.
ประเทศเราต้องสูญเสียงบประมาณกับความซ้ำซ้อนเหล่านี้เท่าไหร่ ออ วันก่อนมีโอกาสเข้าไปนั่งในห้องรับรองงานแห่งหนึ่งผู้บริหารสพฐ.บ้านเรากับเจ้าของโรงเรียนเอกชนเขาคุยกันมีประโยคหนึ่งที่ติดหูผมจนทุกวันนี้เขาแหลงว่า "โรงเรียนในสงขลาไม่ผ่านเกณฑ์ลุยเสียแหม็ด อียุบกะโถกค้านมั่งไหรมั่ง ทั้งที่อีเอามารวมกันแล้วทำให้มันดีขึ้นนิ โหมฺผู้นแหละตัวดีไม่ยอมให้ยุบ"
ผมกัดฟันฟังก่อนรีบเดินออกมาเพราะว่าไม่อยากโต้เถียงกับพวกบริหารการศึกษาแต่พาโรงเรียนไม่รอดทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่งสมัยอดีตสมบัติชุมชนทั้งนั้นที่เขายกให้สร้างโรงเรียนถ้าพาโรงเรียนไม่รอดแล้วช่วยคืนพื้นที่ให้ชุมชน ท้องถิ่นเขาทำประโยชน์อย่างอื่นด้วยนะครับ ไม่ใช่ทิ้งให้ร้าง ให้ผุพัง หรือปล่อยให้เช่าหรือบกรุกจนไม่สามารถเยียวยาได้
สงบนิ่งไว้อาลัยให้การศึกษาไทยที่ยังไม่เห็นแสงสว่างเลยจนวันนี้ ถ้ากระทรวงศึกษานำพาการเรียนพื้นฐานไม่ได้ก็โอนงานโอนงบให้ท้องถิ่นเถอะครับ ผมว่าน่าจะดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ต้อม รัตภูมิ รายงาน