เคล็ดลับการติดตามสถานการณ์ฟ้าฝนด้วยตนเอง


30 พ.ย. 2560

62.jpg

เชื่อได้เลย ณ เวลาน้ำจ่อเมืองหาดใหญ่แบบนี้ จะมีสารพัดข่าวลือประดังเข้ามา วันนี้เราจะพาคุณเข้าถึงข้อมูลที่จะทำให้คุณพิจารณาแยกแยะได้ว่าว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีขั้นตอนให้ตรวจสอบข้อมูล 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ข้อมูลอนาคต 
     คุณรู้หรือไม่ ว่าอุตุฯ สามารถพยากรณ์และทำนายพายุฟ้าฝนได้ล่วงหน้าได้หลายวัน หากมีเหตุการณ์ไม่ปรกติ อุตุฯ จะออกประกาศเตือนภัยล่วงหน้าเสมอ (หน้าประกาศเตือนภัย) เมื่อรู้แล้วไปคลิกไป Like ให้อุตุฯ เข้าด้วยน้าาา เพจ : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เว็บไซท์ : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก หรือจะโทรศัพท์ 074-311760 เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ อย่าให้ใครมาหกเรื่องพายุอีกนะคร๊าบบพี่น้อง

 

2. ข้อมูลปัจจุบัน
     เมื่อเราสามารถตรวจสอบเหตุการณ์อนาคตว่ามีข้อเท็จจริงแต่ไหน จากหน้าเตือนภัยของอุตุฯ ได้แล้ว ต่อไปก็ต้องตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันได้ด้วย ข้อมูลปัจจุบันคือสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ กำลังได้รับผลกระทบ อันได้แก่ข้อมูล

   2.1 เรดาร์ตรวจฝน สามารถดูได้จาก ภาพถ่ายเรดาร์ตรวจอากาศ จะมีให้ดูทั้ง 2 แบบ ทั้งภาพนิ่ง เป็นภาพล่าสุด ส่วนด้านล่าง เป็นภาพเคลื่อนไหว ดูทิศทางการเคลื่อนตัวของฝน (หมายเหตุ เวลาเป็น UTC ต้องนำมาบวก 7 เพื่อให้เป็นเวลาประเทศไทย)

  2.2 ภาพถ่ายดาวเทียม สามารถดูได้จาก ภาพถ่ายดาวเทียม 1  ภาพถ่ายดาวเทียม 2 (หมายเหตุ เวลาเป็น UTC ต้องนำมาบวก 7 เพื่อให้เป็นเวลาประเทศไทย)

  2.3 ภาพกล้องวงจรปิด เพื่อดูระดับได้สด ๆ จากหลายสถานที่ โดย HatyaiCityClimate

  2.4 ระดับน้ำปัจจุบันของคลองอู่ตะเภา หากดูภาพจากกล้องวงจรปิดแล้วยังไม่ชัดเจน สามารถคลิกเข้าไปดูระดับน้ำปัจจุบัน พร้อมภาพอธิบายให้ทราบว่าตลิ่งซ้ายขวาสูงข้างละเท่าไหร่ด้วย โดย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา ระดับน้ำม่วงก็อง ระดับน้ำบางศาลา ระดับน้ำหาดใหญ่ใน

  2.5 ระดับน้ำในเขื่อน (อ่างเก็บน้ำ)  ซึ่งสามารถดูรายงานสรุปประจำวันได้ที่ สำนักงานชลประทานที่ 16 ข้อมูลตัวนี้จะทำให้ทราบระดับน้ำที่กักเก็บในเขื่อน ไม่ต้องหลงเชื่อข่าวลือ หากพบเห็นน้ำในเขื่อนระดับ 100% หรือมากกว่า ก็ไม่เป็นอันตราย เพราะทางชลประทานได้ออกแบบให้รองรับไว้อยู่แล้ว

 

3. ข้อมูลอดีตหรือข้อมูลสะสม 

    เป็นข้อมูลสำคัญอีกตัว ที่ทำให้เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของทั้งระดับฝนที่ตกลงมา หรือระดับน้ำในคูคลองต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงยังไง แนวโน้มเป็นลักษณะไหน อยู่ในระดับอันตรายหรือยัง ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้

  3.1 ปริมาณฝนสะสม คลิกดูได้จาก สถานีฝนอัตโนมัติลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา สามารถคลิกดูฝนสะสมได้ตั้งแต่ 15 นาที จนไปถึงฝนสะสม 24 ชั่วโมง ซึ่งทางอุตุฯ ทำไว้ให้ดูง่าย ถ้าคลิกแล้วเป็นสีแดง ๆ ม่วง ๆ น่ากลัว ๆ แสดงว่าอันตรายครับ จากการดูฝนสะสมจากหน้านี้ ทำให้สามารถทราบข้อมูลขั้นต้น ว่าพื้นที่ไหนเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม

  3.2 ระดับน้ำที่สำคัญในคลองอู่ตะเภา คลิกดูได้จาก ศูนย์อุทกวิทยาชลประทานภาคใต้ แล้วคลิกเลือก คลองอู่ตะเภา จ.สงขลา เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถติดตามระดับน้ำได้ทุกชั่วโมง

 

หากสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่าย ติดตาม/รายงานสถานการณ์ด้วยข้อมูลที่เป็นจริง ไม่สร้างกระแส ไม่ตืนตระหนก คลิกเข้าร่วมไลน์กลุ่ม http://line.me/R/ti/g/HDKhr2odHq หรือ Like ติดตามเพจ https://www.facebook.com/Gimyongdotcom หรือคลิกเข้าเยี่ยมชมเว็บ Gimyong.com ก็ได้ครับ