ภาคธุรกิจสงขลา ชง 3ข้อข้องใจโรงไฟฟ้าเทพา ให้ม.อ.ช่วยหาคำตอบ
ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา นำทีมภาคธุรกิจเอกชนร่วมระดมความเห็นเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ชี้ยังมี 3 ข้อสงสัยที่อยากได้คำตอบที่ชัดเจน ชงม.อ.เป็นสือกลางในการหาข้อมูล ชี้การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่มีความสำคัญและจำเป็นแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
[video-0]
(16 ม.ค.60) นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้แทนภาคเอกชน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา สภาอุตสากรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา สมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา และชมรมนักธุรกิจหาดใหญ่ ร่วมแถลงข่าวการประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการโรงไฟฟ้าเทพา ณ โรงแรมบุรีศรีภูบูติก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวว่าจากการประชุมร่วมกันของภาคเอกชน การรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ทางภาคเอกชนมองว่ามี 3 ประเด็นที่ควรมีคำตอบที่ชัดเจนว่านี้ก่อนที่จะมีการตัดสินใจว่าจะสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ประกอบด้วย
1.พลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ มีไม่เพียงพอจริงหรือไม่เพราะในมุมของผู้คัดค้านบอกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ยังอีกเหลือเฟือไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มในขณะนี้
2.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ควรมีการอธีบายถึงผลกระทบที่ชัดเจนกว่านี้ อาทิ
- การดูน้ำเข้าไปใช้ในกระบวนการผลิตและปล่อยออกมา น้ำที่ปล่อยมีสารปนเปื้อน มีอันตรายต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศหรือไม่
- ปล่องควันสูง 200 เมตร มีผลกระทบต่อสภาพอากาศหรือไม่
- สะพานที่ยื่นออกไปในทะเลเพื่อขนถ่ายถ่านหิน จะส่งผลกระทบต่อท้องทะเลหรือไม่
3.ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต้องย้ายออกจากพื้นที่ได้รับการดูแลเยียาที่เหมาะสมหรือไม่ เขามีความพึงพอใจมากน้อยไหนกับการเยี่ยวยาที่ได้รับ
จากข้อกังวลดังกล่าว ภาคธุรกิจเล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ (ม.อ.) เป็นศูนย์กลางทางความรู้ ศูนย์รวมนักวิชาการ และสามารถประสานกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้ จึงได้ยื่นหนังสือเพื่อให้ ม.อ.ช่วยหาข้อสรุปเหล่านี้ให้กระจ่าง โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจะได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง
เมื่อถามถึงความคิดเห็นส่วนตัว ประธานหอการค้าฯ บอกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่จะใช้พลังงานแบบไหน ทำอย่างไรให้ชุมชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และเกิดขึ้นโดยทุกภาคฝ่ายมีส่วนร่วม ลดความขัดแย้งให้ได้มากที่สุด เพราะการตัดสินใจในวันนี้จะมีผลกระทบไปถึง 20-30 ปีข้างหน้า เราจึงต้องคิดถึงคนรุ่นต่อไปด้วย