รายงานพิเศษ

พลังงานบ้านเราเอาไงดี? เกิดหรือแท้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

เมื่อ: 14:12 น. 7 มี.ค. 61   6790 ครั้ง

นับตั้งแต่วิกฤตไฟดับภาคใต้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2556 ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ ฟังจากฝั่งกฟผ.ส่วนราชการเหมือนจะได้คำตอบว่าพลังงานภาคใต้ไม่เพียงพอ ต้องพึ่งสายส่งจากภาคกลาง ต้องซื้อจากมาเลเซีย ขณะที่ภาคการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติก็เริ่มไม่เสถียร อาจส่งผลต่องความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคได้

57.jpg

แต่หากฟังจากฝั่งต่อต้านหรือฝ่ายคัดค้านนั้นเขาบอกว่าพลังงานภาคใต้เหลือเฟือ  และพยายามบอกว่าต้องใช้พลังงานสะอาด น้ำ ลม แดด ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเขาก็เดินหน้าคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา-กระบี่กันอย่างเต็มสูบ ถึงขนาดยกพลกันไปอดอาหารประท้วงที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติ ส่งผลให้รัฐมนตรีพลังงานที่เพิ่งมารับตำแหน่งใหม่ไม่นาน ลงมาลงนามกับกลุ่มต้านแล้วบอกว่ายุติโครงการไปก่อนจนกว่าจะมีการศึกษาใหม่

กลุ่มค้านดูเหมือนจะประสบความสำเร็จและแสดงท่าทีดีใจกันถ้วนหน้า อีกฟากฝั่งก็ยังมีกลุ่มหนุนที่เริ่มแสดงพลังมากขึ้นเช่นกัน ทั้งจากเจ้าหน้าที่กฟผ.เองที่ไม่เห็นด้วยกับการชะลอหรือยุติโครงการในครั้งนี้ และกลุ่มชาวบ้านจากกระบี่ จากเทพา สงขลา ก็เริ่มแสดงพลังสนับสนุนกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มชาวเทพาที่ขึ้ันไปปักหลักที่หน้ากฟผ.หน้ากระทรวงพลังงาน กดดันให้ฉีกทิ้งการลงนามหนังสือในรถตู้ของรมต.พลังงาน แล้วให้รัฐเดินหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ต่อทันที

58.jpg59.jpg หนังสือจากเครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

ย้อนกลับไปดูความพยายามในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ภาคใต้ มีมานานแล้วในหลายรัฐบาลแต่ดูเหมือนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะกล้าๆกลัวๆ และมาเริ่มจริงจังในรัฐบาลคสช.สั่งเดินหน้าทั้งที่กระบี่และเทพา ทุ่มงบมหาศาลในการทำงานมวลชน ทำความเข้าใจกับประชาชน พยายามยามฝ่ากระแสกลุ่มต้านมาโดยตลอด และเดินหน้ามาอย่างต่อเนื่องจนหลายคนเชื่อว่ายังไงๆ โคารงการโรงไฟฟ้้าถ่านหินเทพาเกิดแน่ๆ แต่ไม่น่าเชื่อว่าเมื่อเปลี่ยนรมว.พลังงานเพียงไม่กี่วันโครงการก็ยุติลงทันที ทำเหมือนที่ผ่านมาไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ถ่านหิน หากถามว่ารู้จักไหมบอกเลยว่ารู้จักและเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ การกรีดยางสมัยก่อนต้องใช้ถ่าหินและน้ำเป็นตัวให้พลังงานแสงสว่าง ถ่านหินเด็กๆ เอามาหยอดน้ำเล่นแล้วจุดไฟ เอามาทำไอ้ตูมเป็นของเล่นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว เมื่อโลกพัฒนาขึ้นถ่านหินค่อยๆ หายไปเปลี่ยนมาเป็นไฟฟ้าแทน จนลูกชาวสวนยางรุ่นใหม่ๆ อาจไม่รู้แล้วว่าแต่ก่อนถ่านหินมีความสำคัญและจำเป็นต่ออาชีพกรีดยางมากๆ 

โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เรารู้จักและได้ยินชื่อคงหนีไม่พ้นที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกการใช้พลังงานถ่านหินของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ แต่วันนี้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้แม่เมาะกลายเป็นสวรรค์ทางการท่องเที่ยวไปแล้ว และเท่าที่ทราบมาหลายธุรกิจที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย ก็มีการใช้ถ่านหินอยู่แล้วแต่ไม่ได้มีข่าวให้ผู้คนส่วนใหญ่รับรู้ หลายที่จึงอยู่กับพลังงานถ่านหินโดยไม่รู้ตัวหรือรู้แต่ไม่ได้สนใจอะไรเพราะไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตแต่อย่างใด

ผมเห็นด้วยกับคำว่าเทคโนโลยีช่วยให้สิ่งที่อันตรายปลอดภัยขึ้น ช่วงที่เริ่มดำเนินโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โรงไฟฟ้าจะนะ ก็มีกลุ่มต้านออกมาเช่นกันแต่โครงการนี้เดินหน้าจนได้เกิด และวันนี้ 2 โครงการได้เป็นหม้อข้าวสำคัญที่มีการสนับสนุนงบพัฒนาด้านต่างๆ ให้กับอำเภอจะนะอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะเงินจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าจะนะ ที่ลงสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

48.jpg

วันนี้หากมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา แน่นอนว่างบประมาณที่ลงมาตั้งแต่การเริ่มตอกเสาเข็มต้นแรกจะทำให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ และจะเป็นเมกกะโปรเจกต์ที่ที่มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี หากสร้างเสร็จพื้นที่รอบๆ โรงไฟฟ้าก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ และมีเม็ดเงินจากกองทุนโรงไฟฟ้าเทพากลับสู่ชุมชนด้วย วันนี้แม้โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพายังไม่มีแต่ในพื้นที่จะนะ เทพา และหลายพื้นที่กำลังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลเกิดขึ้นมากมาย นั่นแสดงว่าในพื้นที่แห่งนี้ยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่อีกมากถูกต้องไหมครับ

การเดินทางของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ถ้าเปรียบเทียบเป็นผู้หญิงถือว่าผ่านกระบวนการสู่ขอ แต่งงานและกำลังตั้งท้องแล้วเสียด้วยซ้ำ แต่วันนี้ดูเหมือนว่ามีพลังบางอย่างกำลังจะทำให้แท้ง แท้งโดยไม่มีเหตุผล แท้งเพราะคนบางคนไม่ชอบ แท้งเพราะคนมีอำนาจสั่งให้ทำ ณ วันนี้ดูคำสั่งให้ทำแท้งออกมาแล้วเหลือแต่ว่าจะทำหรือไม่ เพราะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้งยังเดินหน้าให้ยุติการทำแท้ง ปล่อยให้ท้องนี้โตพร้อมคลอดตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

สุดท้ายแล้วพลังงานบ้านเราเพียงพอหรือยัง จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ไหม โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาจะถูกทำแท้งหรือไม่ อีกไม่นานคำตอบที่ชัดเจนคงออกมา  

62.jpg61.jpg60.jpg

 
เมื่อ: 14:12 น. 7 มี.ค. 61   6790 ครั้ง

คุณอาจสนใจข่าวนี้ :

กกพ.จัดเวทีนำร่องพบปะสื่อสงขลา รับฟังมุมมองข้อเสนอแนะด้านต่างๆ
กฟผ.พร้อมซื้อน้ำมันปาล์มดิบสำหรับผลิตไฟฟ้า มั่นใจช่วยเหลือเกษตรกรได้ตามแผน
กฟผ.ร่วมมอบเสื้อ(ชุดรายอ) และผ้าถุง เนื่องในเทศกาลฮารีรายอกับผู้ยากไร้ในอำเภอเทพา
รวมพลัง 3 การไฟฟ้า เปิดตัวมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งเป้าประหยัดไฟฟ้าให้ถึง 206 ล้านหน่วยในระยะเวลา 5 ปี
ข่าวล่าสุด
จังหวัดสงขลา ร่วมกับ ภาคเอกชน แถลงข่าวการจัดงาน Venue Standards in Songkhla MICE City
เมื่อ: 17:52ข่าวสารบ้านเรา
เทศกาลเที่ยวสงขลากินปลากะพง 3 น้ำ Songkhla Seafood Festival ครั้งที่ 3
เมื่อ: 15:12ประชาสัมพันธ์
​มรภ.สงขลา จัดประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมระดับชาติ-นานาชาติ
เมื่อ: 14:53รอบรั้วการศึกษา
สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (แม่น้ำ ลำคลอง) กิจกรรมน้ำคือชีวิต
เมื่อ: 14:38ข่าวสารบ้านเรา

  1. มหกรรมว่าวสงขลา เดินชิว กินลม ชมว่าว
    3703 ครั้ง
  2. ​คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.ผนึก ศจย. จัดประชุมวิชาการ "คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า"
    1408 ครั้ง
  3. ​เปิดงาน “Songkhla Signature" เทศกาลอาหารคู่เมืองสงขลา
    1287 ครั้ง
  4. ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นำข้าราชการส่วนท้องถิ่น "วางพานพุ่มดอกไม้" ถวายรัชกาลที่ 5 เนื่องในวันท้องถิ่น
    1256 ครั้ง
  5. ​ซีแพค เปิดบ้านต้อนรับส.อสังหาฯ สงขลา โชว์นวัตกรรมการก่อสร้างสีเขียวย้ำแนวคิด ‘ล้ำ เปลี่ยน โลก’
    1150 ครั้ง
  6. ​แถลงข่าวความพร้อมจัดงาน “วันสงขลา” 9-11 มี.ค.66
    1120 ครั้ง
  7. ​ประเดิมที่สงขลา "ทีเส็บ" จัดโรดโชว์โครงการ ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย
    1083 ครั้ง
  8. วันสงขลา (โครงการสืบสานอัตลักษณ์ เมืองสงขลา) วันที่ 9 - 11 มีนาคม 2566
    1082 ครั้ง
  9. Festival Economy for Songkhla MICE CITY ยกระดับสงขลาสู่การเป็นศูนย์กลางการจัด Event
    976 ครั้ง
  10. ​ก.พาณิชย์ ลุยช่วยดันสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลกเปิดรับสมัครชิงรางวัลการันตีคุณภาพแบรนด์
    955 ครั้ง
  1. จังหวัดสงขลา ร่วมกับ ภาคเอกชน แถลงข่าวการจัดงาน Venue Standards in Songkhla MICE City
    0 ครั้ง
  2. เทศกาลเที่ยวสงขลากินปลากะพง 3 น้ำ Songkhla Seafood Festival ครั้งที่ 3
    0 ครั้ง
  3. ​มรภ.สงขลา จัดประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมระดับชาติ-นานาชาติ
    0 ครั้ง
  4. สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (แม่น้ำ ลำคลอง) กิจกรรมน้ำคือชีวิต
    0 ครั้ง
  5. ​ม.ทักษิณ มุ่งอนุรักษ์พันธุกรรมดอกดาหลา ส้มจุก และมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์แท้ เพื่อยกระดับเป็นพืชเศรษฐกิจ
    0 ครั้ง
  6. จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ฟื้นฟูคลองสำโรง (คลองสามกอง) เฉลิมพระเกียรติ
    0 ครั้ง
  7. OTOP ทั่วไทยร่วมใจสู่ชายแดนใต้ มหกรรม สินค้า OTOP & SMEs
    0 ครั้ง
  8. นศ. IBM คว้ารางวัลชนะเลิศ Thailand 60-Second Pitch 2023
    0 ครั้ง
  9. ​อบจ.สงขลา จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2566 "กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก"
    0 ครั้ง
  10. ​มรภ.สงขลา เปิดโอกาสเด็กสถานสงเคราะห์บ้านสงขลา ฝึก “ว่ายน้ำเพื่อชีวิต”
    0 ครั้ง