ก่อนถึงวันยางพาราแห่งชาติ ดูโฉมดรีมทีมยางชุดใหม่กับความหวังขุดราคาขึ้นจากเหวที่ 50+


7 เม.ย. 2561

ก่อนถึงวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันยางพาราแห่งชาติ ข่าวคคราวความเเคลื่อนไหวในแวดวงยางพารามีให้เห็นมากมาย ภายใต้การนำของรัฐบาลคสช.มีการปรับโครงสร้างยางพาราจากที่มี 3-4 หน่วยงานมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ชื่อ การยางแห่งประเทศไทย หรือกยท.เสมือนหนึ่งว่าจะเป็นความหวังให้ชาวสวนยางว่าเมื่อองค์กรเป็นหนึ่งเดียวคงขับเคลื่อนง่ายขึ้นและคงเป็นประโยชน์แก่คนกรีดยางมากยิ่งขึ้น 

44.jpg

แต่จนแล้วจนรอดระยะเวลาเกือบ 4 ปีของรัฐบาลคสช.มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตร และล่าสุดกับการเปลี่ยนตัวผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยคนแรก และปรับโครงสร้างบอร์ดบริหารยงพาราครั้งใหญ่ เพื่อหวังช่วยให้ราคายางดีขึ้น โดยในวันนี้ (7 เม.ย.61) ก่อนเขียนบทความชิ้นนี้ผมได้ลองสอบถามกับคนตัดยางแถวบ้านได้รับคำตอบว่าราคาน้ำยางสดวันนี้อยู่ที่ 38 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ต่ำมาก เพราะช่วงนี้อยู่ในช่วงยางผลัดใบ หลายสวนยังปิดกรีด และยางที่เปิดกรีดแล้วก็ยังได้รับผลผลิตไม่เต็มที่ หลังจากนี้สวนยางทยอยเปิดกรีดและเมื่อฝนตกมาปริมาณน้ำยางก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ข้อมูลจากเพจ การยาพารา 6 เม.ย.61 ระบุว่า "ปัญหาราคายางยังคงเป็นหนามที่ยอกอกรัฐบาลทุกรัฐบาลเรื่อยมาโดยเฉพาะรัฐบาลนี้ที่ดูที่ท่าแล้วราคายังไม่มีทิศทางว่าจะไปทางไหนดีราคายางพ่นพิษถึงขั้นเปลี่ยนรัฐมนตรี พักงาน ผู้ว่า กยท. และวันนี้ถึงคราวเปลี่ยนแปลงบอร์ด พรบ.กยท.2558 มาตรา 17 กำหนดให้มีคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด กยท. ประกอบด้วย
(1) ประธานกรรมการ
(2) กรรมการโดยตำแหน่ง 
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

กรรมการโดยตำแหน่งคือผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกยท. มีข้อดีคือการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกัน การประสานระหว่างหน่วยงาน เพื่ออำนวยงานด้านยางให้สำเร็จ

แต่คราวนี้มาแปลก มีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (มติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560) เรื่องแนวทางการแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ที่ให้หน่วยงานนั้นแต่งตั้งบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานเท่านั้น เผื่อเปิดช่องให้คนนอกหน่วยงานมาเป็นตัวแทนของหน่วยงานตนได้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เฉพาะด้าน ที่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่านี่คือตัวจริงเรื่องยาง แต่ว่ากันว่าทั้งหมดคือสายตรงรัฐมนตรี ที่เรียกได้ว่าดรีมทีมยางพารา ตั้งมาแล้วก็ต้องให้โอกาส ถ้าแก้ได้ท่านคือวีรบุรุษของชาวสวนยางแน่นอนแต่ถ้าแก้ไม่ได้ละ ท่านมีวิธีการพิจารณาตัวเองตามลำดับขั้นอย่างไรบ้างรือ....ออเจ้า......"

ล่าสุดหลังจากมีการสั่งพักงานผู้ว่าการกยท.นายธีธัช สุขสะอาด และมีการแต่งตั้งกรรมการกยท.ชุดใหม่เพิ่มเติม ก็ยังไม่รู้ว่าจะโดนใจคนกรีดยางหรือไม่ เพราะในรายชื่อมีทั้งอธิบดีกรมการข้าว ผู้อนวยการกองทุนหมู่บ้านฯ นักวิชาการทั้งจาก ม.อ.และ ม.นราธิวาสฯ รวมถึงการที่คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เห็นชอบตั้ง ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย หนึ่งในคณะกรรมการ กยท. ขยับทำหน้าที่ รักษาการ ผู้ว่าฯ กยท. เพื่อขับเคลื่อนองค์กร สานต่อนโยบายช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยาง พร้อมขับเคลื่อน กยท.สู่ความเป็นหนึ่งด้านยางพารา (ข้อมูลจาก www.facebook.com/thaiquote.org)

48.jpg

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย เปิดเผยว่า การเข้ารับตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ กยท. ครั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน กยท. พร้อมเดินหน้านโยบายด้านต่างๆ ของ กยท. นโยบายตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนรัฐบาลวางแนวทางไว้ เพื่อพัฒนาวงการยางพาราไทยทั้งระบบ ดังนั้น เป้าหมายสำคัญที่พนักงานและบุคลากร กยท.ต้องคิดและทำร่วมกันคือ การแก้ปัญหาเรื่องราคายางพาราที่มีความผันผวน

สำหรับเรื่องนี้จะสะท้อนถึงความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง ต้องทำให้เกษตรกรเข้าใจในสาเหตุและปัจจัยของปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ โดยทำงานร่วมกับรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการแก้ปัญหาดังกล่าวแต่อาจยังไม่เป็นผลที่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าราคามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ยังมีสัดส่วนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตในระบบ ซึ่งหากมีการส่งเสริมให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารามากขึ้น พัฒนาตลาด เทคโนโลยีการผลิต และทุนสนับสนุนเข้ามารองรับก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้ยางพารา ผลักดันราคายางให้เพิ่มสูงขึ้นได้

ดร.ธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า นโยบายสำคัญที่รัฐบาลมุ่งให้เกิดผลสำเร็จ คือ ราคายางที่สูงขึ้น จึงเกิดการผลักดันมาตรการต่างๆ เช่น โครงการใช้ยางของหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้โครงการนี้สำเร็จไปตามเป้าหมาย ซึ่ง กยท.เข้าไปช่วยเสริมด้วยการทำงานในเชิงรุก เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น นโยบายลดการกรีดยางในพื้นที่ภาครัฐ การคุมปริมาณการส่งออกยาง และการลดพื้นที่ปลูกยางในเดือน มกราคม-มีนาคม 2561 ซึ่งทั้งหมดเป็นมาตรการระยะสั้นที่ผ่านไปแล้ว ส่งผลให้ราคายางในประเทศปรับสูงขึ้นได้บางช่วงเท่านั้น ดังนั้น กยท. จะต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาและหามาตรการอื่นเข้ามาแก้ปัญหา


“วันนี้ผู้บริหาร พนักงานของ กยท. เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง จะต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความสำเร็จและความเชื่อมั่นแก่วงการอุตสาหกรรมยางของโลก เพราะ กยท. คือผู้ที่เชี่ยวชาญและผู้รู้จริงเรื่องยางมากว่า 50 ปี” ดร.ธนวรรธน์ กล่าวทิ้งท้าย

49.jpg

ชื่อของ ดร.ธนวรรธน์ ในมุมของนักวิชาการ นักธุรกิจ เชื่อว่าชื่อนี้ดีกรีดีแน่ๆ จากนักวิชาการ นักพยากรณ์เศรษฐกิจ มาสู่การเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายยางพารา การเรียความเชื่อมั่น ความศรัทธาจากชาวสวนกลับมาจากองค์กรที่เป็นที่พึ่งของชาวสนยางมาโดยตลอดตั้งแต่ยุค สกย.ซึ่งยาวนานกว่า 50 ปี วันนี้ กยท.มีเวลาทำงานไม่นานมากและคงไม่มีเวลาให้ลองผิดลองถูก ดร.ธนวรรธน์ นำเสนอ 3 แนวทางเพิ่มมูลค่ายางพารา คือ

1.การเพิ่มปริมาณความต้องการยางพาราในประเทศ ด้วยการประสานกับหน่วยงานราชการในการนำยางพาราไปเป็นส่วนผสมทำถนน และแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น หมอนยางพารา
2.เร่งการหารือภายใต้กรอบข้อตกลงระหว่าง 3 ประเทศผู้ผลิตและส่งออกยาง ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
3.ลดปริมาณยางและพื้นที่ปลูกยาง โดยตั้งงบประมาณกลางปี วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อเชิญชวนให้ชาวสวนยางที่ปลูกยางอายุ 1-25 ปี เปลี่ยนไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น

พร้อมย้ำว่า "เข้าใจว่าข้อความสำคัญในการมอบหมายให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ คือ การรักษาเสถียรภาพราคายางพาราร่วมกับ 3 ประเทศ ไม่ให้ลดลงไปกว่านี้ ซึ่งเชื่อว่าหากทุกอย่างสามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกัน น่าจะทำให้ราคายางพาราดีขึ้น แต่จะเป็นราคาสูงเท่าไหร่ ยังไม่สามารถตอบได้ แต่เชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะมีโอกาสเห็นราคายางพาราเกินกิโลกรัมละ 50 บาท ภายในช่วง 3 เดือนจากนี้"

บทสรุปทิ้งท้ายได้ชัดเจนว่าราคายางพาราสำหรับชาวสวนซึ่งเป็นเกษตรกรต้นน้ำ คงจะขายได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 50 บาท/กิโลกรัม โดยเขาขอเวลา 3 เดือน เม.ย.,พ.ค.,มิ.ย. 50บาท+ ก็ยังดีแต่ว่าอย่าช้านะครับดร.หลังจาก 3เดือนที่ท่าขอเวลาถ้าต่อไปอีก 2 เดือนมันก็จะเข้าหน้าฝนอีกแล้ว ขอราคาดีๆ ให้ชาวสวนได้มีสะเบียงสะสมไว้กินยามฝนตกบ้างนะครับ

46.png47.jpg50.jpg51.jpg

ต้อม รัตภูมิ รวบรวม/รายงาน