98 ปี ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์


พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 16 ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ 

ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2463  ) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 16 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี 3 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2531และเป็นนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญของรัฐสภาที่ครองอำนาจยาวนานที่สุด ทั้งนี้เพราะกฎหมายไทยในสมัยนั้นไม่ได้กำหนดให้รัฐสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
99.jpg
ประวัติ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)

พลเอกเปรม จบการศึกษาหลักสูตรพิเศษโรงเรียนเทคนิคทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2484 และเข้ารบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ ปอยเปต กัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485-2488 ที่เชียงตุง

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อ พ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า "ป๋า" และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า "ลูก" ที่จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน 

พลเอกเปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคทึ่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2521

ตำแหน่งทางการเมือง
ในปี พ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วง พ.ศ. 2511 - 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

พลเอกเปรมเข้าร่วมการรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ล้มรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ล้มรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สมัยที่ 1
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 - 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526

สมัยที่ 2
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529

สมัยที่ 3
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ
98.jpg
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรม ที่บ้านพักเพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 น.พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราวโดยตำแหน่งประธานองคมนตรี ตามมาตรา 24 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 

วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ประธานสภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาในขณะนี้ ได้เข้าเฝ้าพร้อมด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร, นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ประมุขฝ่ายตุลาการ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการฯ กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นทรงราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 10 ทรงพระนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

วันที่ 2 ธันวาคม 2559 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี และนับประธานองคมนตรี ทั้งในรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10  

ชีวิตส่วนตัว
พลเอกเปรม ชื่นชอบดูการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬามวยและฟุตบอล มักเปิดโอกาสให้นักกีฬาเข้าพบเพื่อคารวะ และให้กำลังใจ ก่อนจะเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังชื่นชอบการร้องเพลง ระยะหลังได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ ณัฐ ยนตรรักษ์ และประพันธ์เพลงเป็นงานอดิเรก พลเอกเปรมมีผลงานเพลงบันทึกเสียงจำหน่าย บรรเลงดนตรีโดย กองดุริยางค์ทหารบก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดต่าง ๆ ดังนี้
    พ.ศ. 2531 Order of the Nine Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)
    พ.ศ. 2525 Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
    พ.ศ. 2533 Order of Rama 1st Class ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 (เสนางคะบดี) (ส.ร.)
    พ.ศ. 2521 Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
    พ.ศ. 2518 Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
    พ.ศ. 2539 Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
    พ.ศ. 2531 Order of Ramkeerati (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ 
    พ.ศ. 2484 Victory Medal - Indochina (Thailand).png เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
    พ.ศ. 2505 Victory Medal - World War 2 (Thailand).png เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
    พ.ศ. 2521 Freeman Safeguarding Medal - Class 1 (Thailand).png เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
    Safeguarding the Constitution Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
    พ.ศ. 2498 Chakra Mala Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญจักรมาลา
    พ.ศ. 2524 The Boy Scout Citation Medal 1st class (Thailand) ribbon.png เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
    พ.ศ. 2525 King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
    Red Cross Medal of Appreciation (Thailand) ribbon.png เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
    พ.ศ. 2546 Order of the Polar Star - Ribbon bar.svg The Royal Order of the Polar Star ขั้นสูงสุด
    พ.ศ. 2547 NLD Order of Orange-Nassau - Knight Grand Cross BAR.png Order of Orange-Nassau ขั้นสูงสุด

ตำแหน่งทางทหาร
นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ยังถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 ในระหว่างที่ พลเอกเปรม ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ (แต่โดยมากจะนิยมใช้ พลเอก มากกว่า) 

วีดีโอแนะนำประวัติ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
[video-0]

เนื้อหานี้ในภาษาอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง/บทความที่น่าสนใจ

  • เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
    เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2566 ปังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัด
  • ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
    ​ส่อง 4 ผู้ท้าชิงสนามเมืองเขารูปช้าง
  • ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
    ​"สรรเพชญ" ขอบคุณกงสุลใหญ่มาเลเซีย ช่วยหนุนการท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจสงขลา
  • ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
    ​ปิดฉากนายกศักด์ เขารูปช้าง ชนะคู่แข่งแต่แพ้ใบแดง บทเรียนการหาเสียงที่นักการเมืองต้องระวัง
  • ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
    ​จับตาอนาคตรัฐบาลใหม่ และส่อง 60 ที่นั่งภาคใต้ได้พรรคไหนบ้าง?
  • ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
    ​“อภิสิทธิ์” ลุยสงขลาหนุนเลือก “สรรเพชญ” ได้ “สรรเพชญ” ตัวจริงใช้งานได้ทันที
  • ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
    ​เวทีภูมิใจไทยเขต 2 "รองรักษ์"ขอสานต่อเจตนารมย์ทนายหมู หวังเป็นส.ส.ทำงานกับรมต.คนหาดใหญ่
  • ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
    ​“น้ำหอม” เขต 6 กระแสยังแรงคนสะเดาร่วมเชียร์ล้นพื้นที่จัดงาน
  • จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
    จังหวัดสงขลาจัดกิจกรรม Big Day เดินรณรงค์โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
  • ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
    ​อสม.บุกกกต.สงขลา ยืนยันไม่ได้เป็นกลไกซื้อเสียงให้นักการเมือง
  • แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา
    แม่ทัพภาคใต้ประชาธิปัตย์" อ้อนชาวเขต 5 สงขลากาเบอร์ 3 สานภารกิจ 3 พัฒนา